ตอนนี้โลกกำลังเผชิญอยู่กับสภาวะโลกเดือด ส่งผลให้ทั่วโลกมีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ในประเทศไทยที่มีสภาพอากาศร้อนอบอ้าวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ก็ทำให้ร้อนมากกว่าที่เคยเป็น หนึ่งในผลกระทบที่เลี่ยงไม่ได้คือ ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จากการที่ใช้ระบบปรับอากาศภายในอาคาร นั่นจึงทำให้ Solar Rooftop เริ่มเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่เชื่อกันว่าเป็น ทางรอด มากกว่า ทางเลือก บทความนี้เรามาทำความรู้จักกับโซล่ารูฟท็อปให้มากขึ้นกันดีกว่า จะมีเรื่องไหนน่าสนใจกันบ้าง เชิญติดตามได้ในเนื้อหาต่อจากนี้
หลังคาโซล่าเซลล์ หรือ Solar Rooftop คือการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เข้ากับอาคาร โดยใช้ส่วนของหลังคาติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เมื่อมีแสงอาทิตย์มากระทบบนแผงโซล่าเซลล์ ก็จะเกิดกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า หลังจากผ่านกระบวนการแปลงกระแสไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำเอาพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้มาใช้ในตัวอาคาร
หากจะให้อธิบายโดยง่าย วัตถุประสงค์ของการติดตั้ง Solar Rooftop คือการ “ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้เอง” โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า นั่นหมายความว่าค่าไฟที่จะต้องเสียในทุก ๆ เดือนก็จะลดน้อยลง จะลดมากลดน้อยก็ขึ้นอยู่กับขนาดของแผงโซล่าเซลล์และประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์
หลายคนที่ที่ได้หาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แล้วพบกับคำว่า Solar PV Rooftop อาจเกิดข้อสงสัยว่า Solar PV Rooftop แตกต่างอย่างไรกับระบบ Solar Rooftop ที่จริงแล้ว Solar PV Rooftop คือชื่อเรียกเต็ม ๆ ของ ระบบโซล่ารูฟท็อป ตัวอักษรย่อย PV ที่เพิ่มขึ้นมาย่อมาจาก Photovoltaic ซึ่งเป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์ภายในแผงโซล่าเซลล์ ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้านั่นเอง
ในการติดตั้ง Solar Rooftop ไม่ได้เป็นแค่การนำเอาแผงโซล่าเซลล์ไปติดเอาไว้บนหลังคาเท่านั้น แต่จะต้องมีการวางระบบเอาไว้เป็นอย่างดี ทุก ๆ ขั้นตอนจะต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเพียงเท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพของการผลิตกำลังไฟฟ้าและความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน โดยส่วนประกอบของระบบหลังคาโซล่าเซลล์ก็จะมีดังต่อไปนี้
แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panels) คือส่วนที่ติดตั้งเอาไว้บนหลังคาให้แสงอาทิตย์มาตกกระทบ ภายในจะมีชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่ประกอบเอาไว้ด้วยกัน ทำมาจากซิลิคอน มีหลักการทำงานคือ Photovoltaic Effect เมื่อแสงแดดตกกระทบ จะทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ จนเปิดเกิดเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ยิ่งแสงแดดมีความเข้มข้นเท่าไหร่ ยิ่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากเท่านั้น
เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซล่าเซลล์เป็นแบบ “กระแสตรง” แต่ในครัวเรือนเรานั้นใช้ไฟฟ้าแบบ “กระแสสลับ” เมื่อได้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตมาจากแผงโซล่าเซลล์แล้ว ก็จะถูกนำส่งมาที่ อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้า ให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัยนั่นเอง
ระบบสายไฟของ Solar Rooftop จะต้องเป็นสายไฟที่มีความทนทานสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องเผชิญกับความร้อนสูงระหว่างการผลิตกระแสไฟฟ้า และจะต้องถูกออกแบบให้รองรับแรงดันไฟฟ้าที่อาจสูงถึง 1,000 โวลต์ ในส่วนตู้ควบคุมก็จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงที่สุด พร้อมอุปกรณ์ที่ช่วยเรื่องของความปลอดภัย อาทิเช่น อุปกรณ์ตัดไฟเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น
แผงโซล่าเซลล์จะต้องติดตั้งกับโครงสร้างหลังคาอย่างแข็งแรง เนื่องจากประเทศไทยมีช่วงเวลาที่มีพายุฝน ถ้าติดตั้งไม่ดีอาจทำให้แผงโซล่าเซลล์เกิดความเสียหายได้ และอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการติดตั้ง จะต้องเป็นวัสดุที่มีความคงทนสูง เนื่องจากต้องเผชิญกับสภาพอากาศอยู่ตลอด
หลักการทำงานของระบบ Solar Rooftop หลังการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็จะเริ่มจากในส่วนของแผงโซล่าเซลล์ ที่จะสร้างกระแสไฟฟ้าโดยทันทีหลังจากมีแสงแดดมาตกกระทบ จากนั้นจะส่งกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปแปลงที่อินเวอร์เตอร์ เปลี่ยนจากไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นกระแสสลับ เพื่อนำไปใช้งานได้ในครัวเรือน
ไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้จะถูกดึงมาใช้อย่างเต็มที่ หากในช่วงเวลานั้น ๆ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar Rooftop ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้าน ระบบก็จะมีการดึงเอากระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้ในส่วนนั้น ๆ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของระบบโซล่ารูฟท็อปที่เลือกใช้อีกด้วย
แน่นอนว่าการผลิตไฟฟ้าเอาไว้ใช้เองด้วย Solar Rooftop ย่อมตามมาด้วยประโยชน์มากมาย แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายของการติดตั้งที่ตอนนี้ถือกว่าสูงอยู่พอสมควร อาจทำให้หลาย ๆ คนเกิดความกังวลว่าประโยชน์ที่ได้รับจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เพื่อให้การตัดสินใจครั้งนี้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เราขอยกตัวอย่างประโยชน์ที่จะได้รับจากการติดตั้งหลังคาโซล่าเซลล์ มาดูกันเลยว่าจะคุ้มค่าจริงหรือไม่?
แม้ว่าโซล่ารูฟท็อปราคาค่อนข้างสูง แต่ต้องอย่าลืมว่าค่าไฟที่เราต้องจ่ายในทุก ๆ วันนี้ก็ค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน ยิ่งเป็นบ้านที่มีผู้คนอาศัยตลอดเวลา การติดตั้งระบบ Solar Rooftop จะช่วยให้ค่าไฟที่ต้องเสียลดน้อยลงเป็นอย่างมาก และระบบก็มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงเป็นการลงทุนที่เห็นความคุ้มค่าในระยะยาวอย่างแน่นอน
การติดตั้งหลังคาโซล่าเซลล์ เป็นการใช้พลังงานที่ไม่สร้างมลพิษ ไม่เหมือนกับไฟฟ้าที่เราใช้งานโดยทั่วไป ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาไหม้ มีงานวิจัยเคยกล่าวเอาไว้ว่า การใช้ Solar Rooftop ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อครัวเรือนเลยทีเดียว
เคยได้ยินหรือไม่ว่าการติดตั้ง Solar Rooftop จะทำให้บ้านมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนี่คือเรื่องจริงไม่ได้เป็นคำโฆษณาแต่อย่างใด เพราะเทรนด์ของการใช้พลังงานสะอาดกำลังมาแรง เมื่อติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อปเอาไว้ แล้วมีเหตุจำเป็นจะต้องขายบ้าน ราคาของบ้านที่มีการติดตั้ง Solar Rooftop จะแพงกว่าบ้านทั่ว ๆ ไปในละแวกเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด และมีโอกาสที่จะขายบ้านออกได้เร็วกว่าเดิมอีกด้วย
เนื่องจากเทคโนโลยีของ Solar Rooftop ในตอนนี้พัฒนาไปกว่าที่เราเคยรู้จักไกลมาก จากเดิมที่มีการใช้งานที่ค่อนข้างจำกัด ทุกวันนี้ข้อจำกัดต่าง ๆ ก็เริ่มลดน้อยลง จนสามารถปรับใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานภายในครัวเรือน การใช้งานในโรงงาน หรือการใช้งานในอาคารสำนักงาน และยังสามารถปรับแต่งการทำงานได้ตามความต้องการของผู้ติดตั้งได้อีกด้วย
เราได้เกริ่นไปแล้วหน่อย ๆ ในช่วงต้นของบทความว่า Solar Rooftop นั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ แต่ละแบบก็จะมีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งต่อจากนี้จะเป็น 3 ชนิดของระบบโซล่ารูฟท็อป ไปดูกันเลยว่าแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด
ระบบ Solar Rooftop แบบออนกริด (On-Grid System) เป็นระบบที่นิยมใช้กันในครัวเรือนทั่วไป หลักการทำงานคือนำกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานได้มาใช้โดยทันที โดยจะทำงานควบคู่ไปกับกระแสไฟฟ้าที่ได้จากการไฟฟ้า กรณีที่สร้างกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอหรือ ช่วงนั้นไม่มีแสงแดด ระบบก็จะนำไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาใช้งานทันที ใช้ได้เฉพาะในช่วงเวลาที่มีแสงแดดเท่านั้น หากเกิดเหตุการณ์ไฟดับระบบก็หยุดทำงานเช่นกัน ระบบออนกริดราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับระบบทั้งหมด
ระบบ Solar Rooftop แบบออฟกริด (Off-Grid System) เป็นระบบที่นำเอาพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากแสงอาทิตย์กักเก็บเอาไว้ในแบตเตอรี่ เมื่อต้องการใช้ไฟฟ้าเมื่อไหร่ ก็จะเป็นการดึงเอาไฟฟ้าที่เก็บเอาไว้ในแบตเตอรี่มาใช้งาน นั่นจึงทำให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้แม้จะไม่มีแสงอาทิตย์ก็ตาม จนกว่าไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะหมด นิยมใช้กับเขตพื้นที่ห่างไกล ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง ข้อเสียคือราคาของแบตเตอรี่ที่มีราคาสูงมาก จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับการใช้ในครัวเรือนทั่วไปสักเท่าไหร่
จาก 2 ชนิดก่อนหน้า จะเห็นว่ามีจุดเด่นและจุดด้อยที่ค่อนข้างต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งระบบโซล่ารูฟท็อปแบบไฮบริด (Hybrid System) ได้นำเอาจุดเด่นของระบบออนกริดและระบบออฟกริดมาผสานรวมกัน ดังนั้นจุดเด่นของระบบไฮบริดคือ สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าแล้วนำมาใช้งานโดยตรงเหมือนระบบออนกริด แต่กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานก็จะถูกนำมาชาร์จแบตเตอรี่เก็บเอาไว้ แล้วดึงพลังงานส่วนนั้นมาใช้ในช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์เหมือนระบบออฟกริด เหมาะกับการใช้ใน Solar Rooftop โรงงานขนาดใหญ่ เนื่องจากมีราคาที่สูงมาก
ระบบ Solar Rooftop ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป โดยส่วนมากจะเป็นระบบแบบออนกริด เนื่องจากราคาไม่สูงมากนัก โดยจะติดตั้งระบบโซล่ารูฟท็อป พร้อมกับการติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU ซึ่งจะมีการคิดค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาที่ใช้ไฟ เนื่องจากช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง ก็มักจะเป็นช่วงที่มีแสงแดดจัดที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากเช่นกัน
แต่สำหรับการติดตั้ง Solar Rooftop โรงงานอุตสาหกรรม ที่นิยมก็จะเป็นในรูปแบบไฮบริด เนื่องจากมีการใช้งานกระแสไฟฟ้าที่มากกว่า ผนวกกับเรื่องของงบประมาณที่มีมากกว่าผู้ติดตั้งในครัวเรือน เมื่อนำเอาระบบ Solar Rooftop แบบไฮบริดมาใช้งาน ในช่วงที่มีแสงอาทิตย์ก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าระหว่างวัน หลังจากช่วงที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ก็ยังสามารถดึงเอากระแสไฟฟ้าที่มีการชาร์จเก็บเอาไว้มาใช้ได้อีกด้วย ถึงจะอยู่ในสถานการณ์ไฟฟ้าดับก็ไม่ต้องกังวล เนื่องจากมีพลังงานไฟฟ้าที่เก็บเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน
การจะตัดสินใจติดตั้งระบบ Solar Rooftop นั้นไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่าย เนื่องจากราคาการติดตั้งในตอนนี้ ถึงจะลดลงมากกว่าแต่ก่อนเยอะแล้ว ก็ยังเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงอยู่ดี เรามาดูราคาและสิ่งที่ควรรู้ก่อนติดตั้งโซล่ารูฟท็อปอีกเล็กน้อย เชื่อว่าน่าจะสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างแน่นอน
การติดตั้งโซล่ารูฟท็อป ไม่ใช่ว่าอยากติดตั้งแล้วจะติดได้เลย จะต้องมีการคำนวณบริเวณที่ติดตั้งเสียก่อนว่ามีพื้นที่เพียงพอต่อการติดตั้งหรือไม่ ยิ่งพื้นที่น้อยก็จะติดแผงโซล่าเซลล์ได้น้อย ซึ่งในบางครั้งอาจไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ขอแนะนำว่าพื้นที่สำหรับการติดตั้ง Solar Rooftop ควรจะมีมากกว่า 20 ถึง 30 ตารางเมตรเป็นขึ้นไป
เนื่องจากประสิทธิภาพของการสร้างพลังงานไฟฟ้าของ Solar Rooftop ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของแสงแดดที่ตกกระทบบนแผงโซล่าเซลล์ ดังนั้นในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะต้องอยู่ในมุมที่แสงแดดตกกระทบมากที่ ประเทศไทยส่วนมากจะนิยมติดไปทางทิศใต้ ซึ่งจะเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดยาวนานที่สุดในแต่ละวัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ติดตั้งว่ามีสิ่งที่มาบดบังแสงแดดหรือไม่ เช่น ต้นไม้ใหญ่ อาคารสูง ป้ายโฆษณา เป็นต้น
เรื่องของค่าใช้จ่ายสำหรับการติดตั้ง Solar Rooftop ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการที่คุณเลือกใช้ ส่วนนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของแต่ละคน สิ่งที่เราอยากให้คุณสนใจมากที่สุดจะเป็นในส่วนของระยะเวลาคืนทุน (ROI) ซึ่งคิดจากค่าไฟฟ้าที่ลดลงจากการใช้ระบบโซล่าเซลล์ในทุก ๆ เดือน จะต้องใช้เวลากี่เดือนถึงจะเทียบเท่ากับค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ในส่วนนี้ผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าเซลล์หลาย ๆ ราย มักจะแจ้งระยะเวลาคืนทุนเอาไว้ก่อนการติดตั้งอยู่เสมอ
ตามข้อกฎหมายในปัจจุบัน การจะติดตั้งระบบ Solar Rooftop จำเป็นจะต้องขออนุญาตกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เสียก่อน โดยการใช้ในครัวเรือนกำลังผลิตต้องไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และสำหรับผู้ที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด สามารถเข้าร่วมโครงการรับซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ ไฟฟ้าส่วนเกินที่เหลือจากการใช้งานในบ้าน จะถูกดึงกลับไประบบของการไฟฟ้า ได้ราคาหน่วยละ 2.2 บาท
เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากที่สุด การเลือกผู้ให้บริการรับติดตั้ง Solar Rooftop เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นที่สุด ขอแนะนำ Energy Reform Solar เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านประสบการณ์ดูแลโครงการติดตั้งโซล่ารูฟท็อปมาแล้วมากมาย เลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด เพื่อให้ได้ระยะคืนทุกที่เร็วที่สุด ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการติดตั้ง มีการรับประกันอุปกรณ์และการติดตั้ง พร้อมบริการเดินเรื่องขออนุญาตกับการไฟฟ้าและสำนักงานเขตเพื่อความสะดวกสูงสุดของลูกค้าทุกท่าน เพื่อให้คุณมั่นใจในมาตรฐานและคุณภาพการติดตั้งของเรา เรามีตัวอย่างโครงการจริงจากลูกค้าของเราที่สามารถเข้าชมและตรวจสอบได้ หากสนใจติดตั้ง Solar Rooftop กับ Energy Reform Solar สามารถติดต่อเราได้เลย